วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เฟรด เป็นคริสเตียนที่ดีคนหนึ่ง ตอนนี้เขาป่วยหนัก
นอนใกล้ตายอยู่ในโรงพยาบาล ญาติๆเรียกนักบวชมา …
เมื่อนักบวชมายืนข้างๆเขา เฟรดขยับมือเพื่อต้องการเขียนอะไรบางอย่าง
นักบวชรีบส่งปากกากับเศษกระดาษให้เฟรด เฟรดใช้แรงที่เหลือทั้งหมด
เขียนข้อความได้เพียงประโยคเดียวก็สิ้นลม
นักบวชเก็บกระดาษไว้ในกระเป๋า พร้อมกับเสียง ร้องไห้เสียใจของญาติๆ
ในพิธีฝังศพ หลังจากที่นักบวชคนเดิมกล่าวคำตามพิธี
เสร็จเรียบร้อยแล้ว เขาก็นึกถึงเศษกระดาษที่เฟรดเขียนไว้ก่อนตาย
เขาจึงประกาศว่า “ก่อนสิ้นลม เฟรดได้ฝากข้อความ ไว้ให้พวกเรา
ฉันมั่นใจว่าจะเป็นคำที่ให้กำลังใจพวกเราได้ดี”
เขาล้วงเอากระดาษออกมาแล้วอ่าน
“ถอยไปไอ้บ้า แกยืนเหยียบสายออกซิเจนอยู่โว้ย!!!”

วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ลอง


การกลืนวัฒนธรรม

แม้ว่า ประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นจะอยู่ในทวีปเอเชียเหมือนกัน แต่ก็ยังคงมีความแตกต่างมากมายเกิดขึ้น การที่ประเทศญี่ปุ่นกลายเป็นชาติที่มีศักยภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมได้ รวดเร็วที่สุดในแถบเอเชีย ทำให้ประเทศญี่ปุ่นกลายเป็นต้นแบบการพัฒนาของประเทศในแถบเอเชียได้เป็นอย่าง ดี แม้กระทั่งประเทศไทยเองก็ไม่ยอมน้อยหน้าที่จะกลายเป็นผู้ตามเส้นทาง การพัฒนาประเทศของญี่ปุ่น เช่นเดียวกับอีกหลายๆ ประเทศในแถบนี้

รูปแบบของการเป็นผู้ตามประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างประเทศญี่ปุ่นให้มีประสิทธิภาพนั้น ในส่วนของประเทศไทยก็เริ่มที่จะดำเนินการในรูปแบบต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของเศรษฐกิจ การเมือง แม้กระทั่งโครงสร้างทางสังคม ซึ่งหากมองจากความเป็นจริงแล้ว การนำรูปแบบการพัฒนาของประเทศญี่ปุ่นมาใช้กับประเทศไทยโดยตรงก็อาจจะเกิดดาบสองคมขึ้นได้ เพราะพื้นฐานทางความคิด สังคมและวัฒนธรรมบางอย่างของแต่ละประเทศก็ย่อมมีความแตกต่างกัน ซึ่งหากนำมาเปรียบเทียบให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วอาจจะทำให้เราได้เห็นมุมมอง แง่คิดใหม่เพื่อนำมาพัฒนาประเทศในรูปแบบที่เหมาะสมต่อไปได้

หากพูดถึงประเทศญี่ปุ่น หลายๆคนคงจะนึกถึงความเป็นชาตินิยมของชาวญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นให้ความสำคัญในความเป็นชาตินิยมของตนอย่างมาก ด้วยพื้นฐานของของสังคมที่ได้ผ่านความเจ็บช้ำและการเป็นสมรภูมิรบมาอย่าง โชกโชนในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ชาวญี่ปุ่นรู้สึกรักชาติและหวงแหนความเป็นญี่ปุ่นของตนเองอย่างแท้จริง ซึ่งแตกต่างกับความเป็นชาตินิยมที่ถูกสร้างขึ้นแบบคนไทย ที่เพิ่งจะเริ่มเมื่อไม่นานและถูกสร้างโดยคนกลุ่มหนึ่งๆที่ได้รับผลประโยชน์ เท่านั้น

การเลียนแบบแนวทางการประพฤติตัวของวัยรุ่นญี่ปุ่นก็เป็นเรื่องที่น่ากังวล ไม่น้อย ด้วยลักษณะนิสัยของคนไทย ที่ถนัดในเรื่องการลอกเลียนแบบ แต่ไม่มีการวิเคราะห์หรือปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้เกิดความเหมาะสมสักเท่าไหร่ เห็นวัยรุ่นญี่ปุ่นใช้ของแบรนแนมก็แห่ซื้อตามโดยที่ไม่ดูกำลังทรัพย์ และอีกอย่างก็คือ วัยรุ่นญี่ปุ่นมักจะทำงานพิเศษในวันหยุดหรือช่วงหลังเลิกเรียน ดังนั้นเงินที่เขานำมาใช้ส่วนใหญ่ก็ไม่ใช้เงินที่มาจากการแบมือขอเงินจากพ่อ แม่เหมือนที่วัยรุ่นไทยชอบทำ การรับจ้างล้างจานหรือรับจ้างส่งของก็เป็นอาชีพที่วัยรุ่นญี่ปุ่นชอบทำ แต่สำหรับวัยรุ่นไทยคงจะทำไม่ได้ ด้วยสาเหตุของค่านิยมเก่าๆและความหน้าบางตามภาษาวัยรุ่น ผู้เขียนได้เคยคุยกับเพื่อนที่เรียนภาษาญี่ปุ่นด้วยกันคนหนึ่ง ถึงสาเหตุที่เลือกเรียนภาษาญี่ปุ่น ก็ได้รับคำตอบว่าชื่นชอบนักร้องญี่ปุ่นคนหนึ่ง เลยคิดว่าถ้าได้เรียนภาษาญี่ปุ่นก็จะทำให้ตนเองเข้าใกล้นักร้องคนโปรดได้อีก ขั้นหนึ่ง ซึ่งฟังแล้วเป็นคำตอบที่แปลก ไม่น่าเชื่อว่าดารา นักร้องต่างชาติจะมีอิทธิพลต่อความคิดของวัยรุ่นไทยมากขนาดนี้

แหล่งอ้างอิง
http://www.yes-wedo.com/magazine/

วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

โลกาวิวัฒน์

เอาแบบสั้นๆ ง่ายๆ พอ
เอาไปยาวไม่มีใครอ่าน
โลกาภิวัตน์ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายถึง "การแพร่กระจายไปทั่วโลก; การที่ประชาคมโลกไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใด สามารถรับรู้ สัมพันธ์ หรือรับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วกว้างขวาง ซึ่งเนื่องมาจากการพัฒนาระบบสารสนเทศเป็นต้น"

โลกาภิวัตน์ เป็นการสร้างคำตามหลักการสนธิคำ ๒ คำ คือ โลก และ อภิวัตน์ คำ อภิวัตน์ มาจากอุปสรรค อภิ + กับธาตุ วตฺต ในภาษาบาลี ตรงกับ วฤตฺ ธาตุ ในภาษาสันสกฤต ในภาษาไทยแผลงมาเป็น วัตน์ คำ อภิวัตน์ มีความหมาย การเข้าถึง, การแผ่ถึง, การเอาชนะ

โลกาภิวัตน์ เป็นคำศัพท์เฉพาะที่บัญญัติขึ้นเพื่อตอบสนองปรากฏการณ์ของสังคมโลกที่ เหตุการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในส่วนหนึ่งของโลก ส่งผลกระทบอันรวดเร็วและสำคัญต่อส่วนอื่นๆของโลก

โลกาภิวัตน์เกิดจากสี่รูปแบบพื้นฐานของการเคลื่อนย้ายทุนในเศรษฐกิจโลก โดยสี่การเคลื่อนย้ายของทุนที่สำคัญคือ:

  • ทุนมนุษย์ (เช่น การอพยพเข้าเมือง การย้ายถิ่น การอพยพจากถิ่นฐาน การเนรเทศ ฯลฯ)
  • ทุนการเงิน (เช่น เงินช่วยเหลือ หุ้น หนี้ สินเชื่อและการกู้ยืม ฯลฯ)
  • ทุนทรัพยากร (เช่น พลังงาน โลหะ สินแร่ ไม้ ฯลฯ)
  • ทุนอำนาจ (เช่น กองกำลังความมั่นคง พันธมิตร กองกำลังติดอาวุธ ฯลฯ)
แหล่งอ้างอิง
http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/

วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ทำเป็นแล้ว

ในที่สุด เราก็ทำบทความได้แล้ว
เตรียมตัวเตรียมใจพบความยิ่งใหญ่ไม่เหมือนใคร
coming soon...